วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

มุมมองที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก

*วิสัยทัศน์ *

"วิสัยทัศน์" เป็นคำที่รู้จักกันแพร่หลาย นับตั้งแต่บิล คลินตัน
นำมาใช้หาเสียงเพื่อรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีหสรัฐอเมริกาสมัยแรก หมายถึง
การเป็นผู้มองการไกล คาดการถึงอนาคต 5-10 ปี ได้ชัดเจนแม่นยำ
แม้ท่ามกลางโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

วิสัยทัศน์ไม่เพียงแต่ถูกคาดหวังว่าต้องเป็นคุณสมบัติของผู้นำยุคโลกาภิวัฒ น์
แต่บริษัทใหญ่ๆ ทั่วโลกล้วนให้ความสำคัญกับวิสัยทัศน์กันทั้งสิ้น
ต่างพากันประกาศถึงวิสัยทัศน์ของบริษัทตน ให้คนในองค์กร
ตลอดจนสาธารณะชนได้รับรู้

วิสัยทัศน์สำคัญขนาดไหน?
มีตัวอย่างมากมายบริษัทใหญ่ๆ ในอเมริกา ที่ล้มหายตายจาก
หรือถูกคู่แข่งนอกสายตาแซงหน้าไปอย่างไม่น่าเชื่อ
โดยได้ข้อสรุปว่าเป็นเพราะไร้วิสัยทัศน์ ว่า
"จะมุ่งสู่การเป็นบริษัทขนส่งทางรถไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอเมริกา" แต่ปรากฏว่า
ไม่กี่ปีให้หลังบริษัทนี้แทบแย่
เพราะมีระบบการขนส่งอีกมากมายที่เข้ามาแทนที่การขนส่งโดยสารรถไฟ
เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยยิ่งขึ้น

หรืออีกตัวอย่าง จากโฆษณาเครื่องถ่ายเอกสารที่ชื่อ มิต้า
ที่โฆษณาว่า อะไรก็มิต้าไม่ (ผลิต) จะผลิตแต่เครื่องถ่ายเอกสาร
เพื่อจูงใจว่าเขาเก่งและถนัดที่สุด แต่ต่อมาไม่กี่ปี
บริษัทนี้ต้องรีบกลับตัวมาโฆษณาว่า เล็กๆ มิต้าไม่ (ผลิต) ใหญ่ๆ มิต้าทำ

วิสัยทัศน์ของผู้นำ เป็นเข็มทิศนำพาประเทศให้ทัดเทียมนานาประเทศ
ไม่ให้ถูกเอาเปรียบ

วิสัยทัศน์ของบริษัทเป็นเข็มทิศนำพาธุรกิจให้รุ่งเรือง
ไม่ให้เพรี่ยงพร้ำ

ในขณะที่เราพูดกันถึงแต่เรื่องวิายทัศน์ของผู้นำหรือของบริษัท
แต่หากจะพูดถึงคนในฐานะปัจเจกชนคนหนึ่ง
ที่อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก โดยไร้วิสัยทัศน์ส่วนตัว
หรือจุดหมายของชีวิตที่ชัดเจนก็คงไม่ต่างจากการเดินเรือโดยไร้เข็มทิศคอยนำ ทาง
เรือล่มเอาง่ายๆ

แล้ววิสัยทัศน์ส่วนตัวของเราควรเป็นเช่นไร?
ในหนังสือ "อุปนิสัย 7 ประการ พัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง"
ที่เขียนโดย สตีเว่น โคเว่
พูดถึงความสำคัญของการมีคำปฏิญญาส่วนตัวของเราเอง (Personal Mission
Statement) เพื่อนำพาชีวิตเราไปในจุดที่เราต้องการจริงๆ
ซึ่งเทียบเคียงได้กับการมีวิสัยทัศน์ส่วนตัวนั่นเอง

วิธีที่ช่วยให้ค้นพบ และเขียนคำปฏิญญาส่วนตัวของเราเอง
ในหนังสือแนะนำให้ทำอย่างนี้ครับหามุมสงบๆที่ไร้สิ่งรบกวน
และหลับตาจินตนาการภาพ ดังต่อไปนี้…………

วันนี้ในอีก 3 ปีข้างหน้า
เราถูกเชิญเราถูเชิญไปงานศพของใครคนใดคนหนึ่ง
เมื่อไปถึงงานเราพบคนมากมายที่นั่น ในสภาพเศร้าโศกเสียใจ
เราเดินไปที่หน้าโรงศพ เมื่อชะโงกดูหน้าผู้ตายจึงรู้ว่า
อ้อ!งานศพของเรานั่นเอง เราเดินหาที่นั่ง อ่านกำหนดการของงาน
ในกำหนดการระบุว่า สักครู่จะมีตัวแทน 4 คนมากล่าวไว้อาลัยให้แก่ผู้ตายได้แก่

ตัวแทนจากครอบครัวและญาติเรา
ตัวแทนจากเพื่อนสนิท
ตัวแทนเพื่อนร่วมงานจากที่ทำงานเดิมของเรา
ตัวแทนจากโบสถ์หรือชมรมที่เราเข้าร่วมอยู่

สิ่งที่เราอยากให้ตัวแทนทั้ง 4 คน นั้นพูดถึงเราอย่างไร
นั่นแหละครับ คือ ปฏิญญาของชีวิตที่เราต้องการจริงๆ
เมื่อลองทำตามหนังสือ ผมเริ่มรู้ว่า ชีวิตที่ผมต้องการจริงๆ
เป็นเช่นไร และยังทำให้รู้อีกว่า ช่วงชีวิตที่ผ่านพ้นไป ผมออกนอกเส้นทาง
หรือสวนทางจากจุดหมายของชีวิต หลายครั้งหลายครา

ว่ากันว่า เมื่อวาระสุดท้ายของชีวิตใกล้มาถึง
สิ่งที่คนอยากทำมากที่สุด คือ สิ่งที่เขาสามารถทำได้ ไม่ยาก
แต่กลับละเลยมาตลอดชีวิต ตัวอย่างเช่น

บอกรักคนที่รัก
ขอโทษคนที่เคยล่วงเกิน
ปรับความเข้าใจกับใครบางคน
สารภาพผิดอะไรบางอย่าง
ทำบุญครั้งใหญ่ในชีวิต
ฯลฯ

ท่ามกลางโลกแห่งข้อมูลข่าวสาร การไหลบ่าของหลากวัฒนะธรรม
และชีวิตที่ต้องดิ้นรน ทำให้เราสับสน งุนงง อ่อนล้า กับการใช้ชีวิต
มีผู้เปรียบไว้ว่าไม่ต่างจาก "หมาหลงบนทางด่วน"
หากมีปฏิญญาแห่งชีวิต หรือวิสัยทัศน์ส่วนตัว
ไว้เป็นแผนที่นำทางชีวิต คงช่วยไม่ให้หลงทางง่ายๆ
แต่เมื่อมีแผนที่ชีวิตแล้ว จะลุยต่อบนทางด่วน
หรือจะหาทางลงมาวิ่งแบบสบายๆ ก็สุดแล้วแต่ท่านที่จะเป็นคนเลือกและ
เป็นคนกำำหนดเอง......
ชีวิตนี้ใครลิขิต " เราเป้นผู้กำหนดและเป็นผู้ลิขิตชีิวิตของเราเอง "

1 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับสนใจร่วมทำธุรกิจด้วยช่วยติดต่อกลับที่ thardar@hotmail.com ด้วยน่ะครับ

    ตอบลบ

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

ผลิตภัณฑ์เสริมความงามของเรา

คุณรู้จริงป่าว???

ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพร่างกายของเรา

สารประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ของเรามีอะไรบ้าง

ติดตามเว็บ

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ของเรา

รายการบล็อกของฉัน

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
เคยสังเกตุกันบ้างใหมว่า...ขนาดรถยังมียางอะไหล่แล้วชีวิตคุณละมียางอะไหล่ไว้คอย...กับอนาคตที่ไม่แน่นอนหรือยัง
Powered By Blogger

มุมมองต่างๆ

ค้นหาบล็อกนี้

http://4.bp.blogspot.com/_xCed9AwWvMk/SgHQF3mRDeI/AAAAAAAAAQs/w6wcBMOFO-c/s1600/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%2BGadget%2BHtml.gif